วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

      พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
      พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

     ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริงอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

สังฆคุณ 9

พระสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม
ผู้ที่จะเป็นพระสงฆ์ได้จะต้องผ่านการบวชโดยวิธีหนึ่งใน 3 วิธี ได้แก่

1. การบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เรียกว่า เอหิกภิกขุอุปสัมปทา

2. การบวชด้วยการรับไตรสรณคมน์ เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา

3. การบวชที่คณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่โดยมติเอกฉันท์ เรียกว่า ญัตติตุตถกัมมอุปสัมอุปทา


พระสงฆ์มี 2 ประเภทคือ

1. สมมุตสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บวชในพระพุทธศาสนา ศึกษาเล่าเรียนตามพระวินัย

2. อริยสงฆ์ คือ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนเป็นพระอริยบุคคลบรรลุตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1) วันมาฆบูชา

   วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
   ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป

2.) วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ อ่านเพิ่มเติม



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

   พุทธประวัติ พระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก-ให้นักเรียนย่อเรื่องพุทธประวัติ ,พระสาวก, พุทธสาริกา,ชาวพุทธตัวอย่างละชาดกให้พิมพ์เรื่องย่ออย่างน้อย 30 บรรทัศ

๑. พุทธประวัติ
๑.๑ ผจญมาร เมื่อพระมหาสัตว์ ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น “อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า“ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้” พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า “บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดียวนี้”
๑.๒ การตรัสรู้ เมื่อทรงผนวชแล้ว พระสิทธัตถโคตมะ ได้ศึกษาค้นคว้าทางทุกข์อยู่เป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ทรงทำอะไรบ้าง จะขอสรุปเป็นขั้นตอนตามระดับดังนี้ ขั้นที่ ๑ ทรงฝึกปฏิบัติโยคะ ในแคว้นมคธ สมัยนั้นมีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียอยู่ ๒ ท่านที่สอนวิธีฝึกปฏิบัติโยคะ คือ “อาฬารดาบส กาลามโคตร” กับ “อุททกดาบส รามบุตร” พระเจ้าสิทธถโคตรมะ ทรงไปขอศึกษาและปฏิบัติอยู่กับอาจารย์ทั้งสอบจนจบความรู้ของท่าน โดยได้สำเร็จฌานสมาบัติ ๗ ขั้นตอนจากอาฬารดาบส และได้ฌานสมาบัติขั้นที่ ๘ จากอุททกดาบส

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย

    พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นลักษณะเด่นชัดที่ชนต่างชาติประทับใจ และตั้งสมญานามเมืองไทยว่า “สยามเมืองยิ้ม"ภาษาไทยที่มีใช้อย่างสมบูรณ์ก็เพราะเราได้นำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในพระพุทธศาสนามาใช้ด้วย ชื่อ จังหวัด เช่น ราชบุรี ธนบุรี เป็นต้น แม้แต่ชื่อสิ่งของที่ใช้ในปัจจุบันก็นิยมนำภาษาบาลีมาใช้ เช่นรถยนต์ เกษตรกรรม ชื่อคน วินัย วีรกรรม สุวรรณา เป็นต้น

    มารยาทในสังคมไทย ล้วนมีรากฐานมาจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น มารยาทในการทำความเคารพ มารยาทในการทักทายกัน มารยาทในการต้องรับแขกมารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในห้องประชุม เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม